MENU

Vol.4 No.3 (กรกรฏาคม-กันยายน w.ศ.2564)

เรื่องเด่น&ข่าว

Rehabilitation and Reintegration

   การส่งต่อผู้ต้องขังคืนกลับสู่สังคมของงานราชทัณฑ์ไทย ได้ก้าวผ่านจากการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยมาสู่ขั้นที่สอง คือการสร้างการยอมรับและการเข้ามามีส่วนร่วมของสังคมทุกภาคส่วนในการรับผู้ต้องขังกลับสู่สังคม ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาเติบโตอย่างกว้างขวางมากขึ้น มีการเปิดรับและยอมรับและเข้ามามีส่วนสนับสนุนทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจและชุมชน อย่างไรก็ตามราชทัณฑ์ไทยก็ยังมีปัญหาที่ยังจะต้องพัฒนาต่อไปก็คือการสร้างความมั่นใจว่าการส่งมอบ Product ที่มีคุณภาพที่ผ่านการรับรองกลับสู่สังคมได้แค่ไหนเพียงใดทั้งนี้เพื่อให้เป็นหลักประกันว่า

  1.การส่งต่อผู้ต้องขังคืนสู่เส้นทางสายใหม่ ที่สังคมหยิบยื่นให้ไม่ว่าจะเป็นงานในโรงงานหรืองานอาชีพอิสระจะมีความยังยืนเพียงใด

  2.ผู้ต้องขังเหล่านี้จะกลับไปทำร้ายสังคมและเพิ่มอัตราการกระทำผิดซ้ำให้สูงขึ้นหรือไม่

  ประเด็นแรก เป็นเรื่องที่ฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความเข้าใจที่ดีพอต่อกระบวนการของราชทัณฑ์ในการเตรียมคนสู่สังคม มิฉะนั้นความพยายามของภาคเอกชน ภาคธุรกิจที่เข้ามาตอบสนองในเรื่องนี้ จะสามารถบรรลุได้แก่ระดับของ output คือผู้ต้องขังมีรายได้ เรือนจำมีรายได้และมีตัวเลขผู้ต้องขังออกไปทำงานทำงานโรงงานข้างนอก แต่ไม่สามารถไปถึงระดับ outcome หรือความยังยืนในการทำงานของผู้ต้องขังที่พ้นโทษออกไปได้

  ประเด็นที่สอง เรื่องผู้กระทำผิดจะกลับไปทำร้ายสังคมอีกหรือไม่ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจำแนกแยกปฏิบัติต่อผู้ต้องขังประเภทต่างๆ ของราชทัณฑ์ รวมทั้งการปฏิรูปกฎหมายที่จะกันผู้ต้องขังพวก Hardcore หรือพวกกระทำผิดติดนิสัยออกจากสังคมให้นานได้แค่ไหน จนกว่าความชราภาพจะทำลายศักยภาพในการประกอบอาชญากรรมของเขาลงไป และส่งมอบคืนกลับสู่สังคมด้วยการฝึกอบรมอย่างเข้ม เป็นระยะเวลาที่นานพอ

  ทั้งสองประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ทุกๆ ฝ่ายจะต้องพัฒนากันต่อไปอย่างจริงจังหากประสงค์จะเห็นความสำเร็จในการส่งผู้ต้องขังกลับคืนสู่สังคม

H O M E

A B O U T

O U R T E A M

Nathee Chitsawang

Copyright 2016 | All Rights Reserved.